วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประโยชน์ของวุ้น

 ประโยชน์ของวุ้น
              ประโยชน์ของวุ้น นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้ว การที่วุ้นมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถแข็งตัวได้ เมื่อใช้ในระดับความเข้มข้นเพียง ร้อยละ 0.5 ทำให้มีการนำวุ้นไปใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมอาหาร โดยเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นม ขนมปัง และอาหารกระป๋อง เพื่อให้อาหารมีความเหนียวข้นน่ารับประทานและในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง และสิ่งทอ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์โดยใช้ในการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ใช้เป็นส่วนประกอบของยาระบายใช้เป็นทันตวัสดุ และใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นต้น

วัสดุอุปกรณ์และส่วนผสม ส่วนผสมการทำวุ้นผลไม้สดแฟนซี

วัสดุอุปกรณ์และส่วนผสม
ส่วนผสมการทำวุ้นผลไม้สดแฟนซี

1.ผงวุ้น
                                               

  2.น้ำกะทิ

3.น้ำตาลทรายขาว


4.น้ำเปล่า


5.ผลไม้สด


6.สีผสมอาหาร
 อุปกรณ์การทำวุ้นผลไม้สดแฟนซี
1.หม้อ

2.
กระบวย/ทัพพี

3.
ถาด

4.ถ้วย


5.
พิมพ์รูปทรงต่างๆ


วิธีการทำวุ้นผลไม้สดแฟนซี
1.นำน้ำเปล่าใส่หม้อประมาณ 3กิโลกรัม ตั้งไฟปานกลาง
2.นำผงวุ้นใส่ในหม้อน้ำเปล่า


3.เคี่ยวสักพักให้วุ้นกับน้ำเปล่าเป็นเนื้อเดียวกัน


4.พอวุ้นละลายหมดจึงใส่น้ำตาล 3ถ้วยตวง
ลงไป เคี่ยวต่ออีกสักพักจนน้ำตาลละลาย


5.ใส่เกลือเล็กน้อย และยกวุ้นขึ้น
6.ผสมน้ำหวานกับวุ้น (ใส่สีและรสชาติตามชอบ)

7.เทวุ้นที่ผสมใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้
(ใส่ตามต้องการ)



8.ส่ผลไม้สดที่หั่นไว้ลงในถาดวุ้น จัดผลไม้ให้สวยงาม


9.ผสมน้ำกะทิกับวุ้น

10.นำวุ้นที่ผสมกับกะทิมาเทลาดบนผลไม้อีกครั้ง
11.วางพักไว้จนวุ้นแข็งตัว ยกใส่ตู้เย็น


12.เวลาจะรับประทานนำวุ้นออกจากรูปร่างต่างๆ ตามชอบใจ 
          

ความหมายของวุ้น

ความหมายของวุ้น
           วุ้น (agar–agar ) เป็นสารประกอบของน้ำตาลหลายโมเลกุล  (polysaccharide)  2 กลุ่มคือ เอกาโรส (agarose)  และเอกาโรเพกติน  (agaropectin) ซึ่งสกัดได้จากสาหร่ายทะเลให้วุ้น (agarophytes) เป็นสาหร่ายสีแดงในดิวิชั่นโรโดไฟต้า  (Division Rhodophyta) สาหร่ายสกุลที่นิยมใช้เป็นหลักในการสกัดวุ้นในเชิงอุตสาหกรรม ได้แก่ Gelidium. Gracilaria และ Pterocladiaโดยใช้สกุล Ceramium, Campylae-phora และ Ahnfeltia เป็นตัวเสริมนอกจากสาหร่ายในสกุลดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายสกุลที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม เนื่องจากมีการกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลของประเทศต่างๆ ในเขตศูนย์สูตร และเขตอบอุ่น ซึ่งได้แก่ สาหร่ายในสกุล Gelidiella, Acanthopeltis, Chondrus, Hypnea, Gracilariopsis, Gigartina, Suluria,Phyllophora, Furcellaria และ Eucheuma
สาหร่ายให้วุ้นเหล่านี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามความสามารถในการแข็งตัวของวุ้น (setting power) คือ
 1. เจลิเดียม (Gelidium type) เป็นสาหร่ายชนิดที่ให้วุ้น ซึ่งสามารถแข็งตัวได้ดี แม้จะใช้วุ้นในปริมาณต่ำ
 2. กราซิลลาเรียฮิบเนีย (Glacilaria, Hypnea type) เป็นสาหร่ายที่ให้วุ้น ซึ่งจะแข็งตัวได้เมื่อใช้ในปริมาณค่อนข้างสูงหรือต้อง เติมสารอิเล็กทรอไลต์
  3. คอนดรัส (Chondrus type) เป็นสาหร่ายที่ให้วุ้นซึ่งจะแข็งตัวได้ เมื่อใช้ในปริมาณความเข้มข้นสูงเท่านั้น
           สาหร่ายให้วุ้น ที่มาจากแหล่งต่างกันจะให้วุ้นในปริมาณและคุณภาพที่ต่างกันไป สำหรับมาตรฐานของสาหร่ายให้วุ้น จะกำหนด จากองค์ประกอบต่างๆ ของสาหร่าย ได้แก่สี ความแห้ง ความแข็งของวุ้น และปริมาณวุ้นที่ได้ รวมทั้ง ความบริสุทธิ์ของสาหร่าย และปริมาณสิ่งเจือปนอื่นๆ คุณภาพของวุ้นจะขึ้นอยู่กับชนิดและแหล่งที่มาของสาหร่าย สภาพแวดล้อมของทะเล รวมทั้งกรรมวิธี การสกัด อันได้แก่ การกำจัดสิ่งเจือปนก่อนสกัดอุณหภูมิ ความดัน ความเป็นกรด ด่าง และระยะเวลาที่ใช้ในการสกัด

แนวคิดที่มาและความสำคัญ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ
              วุ้น (agar) เป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดได้จากสาหร่ายสีแดง(Rhodophyceae) บางชนิด กลุ่มสาหร่ายให้วุ้นมักเรียกรวมกันว่า Agarophytes  ซึ่งให้คุณสมบัติแตกต่างกันไปตามความสามารถและลักษณะในการเกิดเจล (gel fomation)
        ปัจจุบันมีคนนิยมทำวุ้นหลายรสขึ้นมาแปลกใหม่พวกเราจึงคิดค้น IS เกี่ยวกับเรื่องวุ้นว่ามีรสไหนบ้าง มาจากทีไหน ใครคนคิดค้น ทำอย่างไรให้อร่อย เพื่อจะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ ซึ่งผู้จัดทำได้เห็นถึงประโยชน์ และกระบวนการทำวุ้นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น วุ้นกะทิ วุ้นใบเตย หรือจะเป็นวุ้นหลากสีสันที่ชวนรับประทาน
             เมื่อทำการศึกษาถึงกระบวนการทำ และรูปแบบหรือว่าลักษณะของวุ้นชนิดต่างๆ หรือรสชาติต่างๆ นั้นมีความแปลกใหม่ ตามยุค ตามสมัย แต่มีวุ้นประเภทหนึ่งที่ทำให้ผู้จัดทำ นั้นได้เกิดความคิดในการทำวุ้นที่มีความแปลกใหม่ และสามารถประยุกต์สิ่งต่างเข้าด้วยกัน นั่นก็คือ “วุ้นผลไม้สดแฟนซี” ซึ่งในปัจจุบันนั้นวุ้นประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ก็ตาม ก็สามารถรับประทานกันได้ และสามารถทำให้วุ้นชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

เรื่อง การทำวุ้นแฟนซี

เรื่อง การทำวุ้นแฟนซี

จัดทำโดย
นางสาว  กนกพร  ปราโมทย์
ชั้น ม.4/1  เลขที่ 31
เสนอ
ครู พยอม ไชยเพชร